วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ข้อเสนอแนะ

 ข้อเสนอแนะ
เคล็ดลับความอร่อย
สังขยาฟักทองนั้นในขณะที่ใส่ส่วนประกอบต่าง ๆ นั้น ต้องใส่ให้พอเหมาะห้ามให้ส่วนประกอบที่เป็นน้ำ เช่น น้ำใบเตย หัวกะทิ  ห้ามใส่มากเกินไป เพราะจะทำให้เนื้อสังขยานั้นไม่แข็ง และจะทำให้เนื้อเละ    ต้องดูความเหมาะสมของขนาดฟักทองก่อนใส่ส่วนประกอบลงไป  เพื่อสังขยาฟักทองจะได้มีรสชาติที่อร่อย และเวลาเทสังขยาลงในลูกฟักทองต้องใช้ตะเกรงกรองด้วยเพื่อจะทำให้ได้สังขยาฟักทองที่มีเนื้อเนียน ละเอียด และไม่มีฟอง


สรุปผลและอภิปรายผลงาน

สรุปผลและอภิปรายผลงาน
สรุป
   การทำโครงงานสังขยาฟักทองครั้งนี้ทำให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันสืบค้นหาข้อมูลและปฏิบัติเป็นรูปเล่มโครงงานและทำเป็นของหวานเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และนอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาวิธีการทำ และลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
อภิปราย
1.            สามารถนำเอาโครงงานมาเป็นแบบอย่างในการศึกษาข้อมูลในการทำครั้งต่อไป
2.            ใช้ประโยชน์จากรูปเล่มโครงงานไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
3.            นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
4.            ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ให้กับตนเองและครอบครัว
5.            เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
           ในการทำโครงงานเรื่องสังขยาฟักทองในครั้งนี้ ทำให้ได้รู้และศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาประยุกต์ใช้และได้รับประโยชน์ ดังนี้
1.            รู้และนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี
2.            ได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆและนำมาจัดทำเป็นรูปเล่มโครงงาน เพื่อการศึกษาต่อไป
3.            นำไปประกอบการเรียนรู้ในวิชาที่เกี่ยวข้อง

4.            ได้เรียนรู้และฝึกทักษะการทำสังขยาฟักทองอย่างถูกวิธี

วัสดุอุปกรณ์

วัสดุอุปกรณ์


1.   ช้อน ซ้อม











2.    เตาถ่าน









3.    จาน ชาม



4.     หม้อสำหรับนึ่ง











5.      ตะแกง











6.     มีด











www.jiraporn0899@gmail.com

        

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ที่มาและความสำคัญ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

    สังขยา หรือที่เรียกในภาษามาเลย์ว่า ศรีกายา หรือกายา  เป็นขนมนึ่งทำจากกะทิและน้ำตาล พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ  เช่น

อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์
กายาหรือศรีกายา (มาจากคำว่าร่ำรวยในภาษามาเลย์) เป็นขนมที่ทำจาก กะทิ ไข่เป็ดหรือไขไก่ ซึ่งขยำให้เข้ากันด้วยใบเตย ปรุงรสหวานด้วยน้ำตาล มีจุดกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพราะใช้เครื่องปรุงที่พบมาในท้องถิ่นคือน้ำตาลมะพร้าวและใบเตย กายายังใช้รับประทานร่วมกับขนมอื่น เช่น pulut tekan ซึ่งเป็นข้าวเหนียวนึ่งที่ย้อมให้เป็นสีม่วง pulut seri muka ข้าวเหนียวนึ่งที่ย้อมให้เป็นสีเขียวด้วยใบเตย

ฟิลิปปินส์
สังขยาในฟิลิปปินส์ทำจากกะทิ และน้ำตาลหรือกากน้ำตาล

ไทย
สังขยาในไทยเป็นขนมที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส นิยมรับประทานกับข้าวเหนียว หรือใส่ในฟักทอง เผือกหรือมะพร้าว แล้วนำไปนึ่ง เป็นคนละชนิดกับสังขยาที่กินกับขนมปัง

กัมพูชา
สังขยาในกัมพูชา (សង់ខ្យាល្ពៅ)ลักษณะคล้ายสังขยาในประเทศไทย นิยมปรุงกับฟักทองแบบสังขยาฟักทองในไทย
การทำสังขยาฟักทองยังเป็นการอนุรักษ์ขนมไทย ให้คนรุ่นหลังสืบทอดและอนุรักษ์ไว้ตลอดไป


จุดมุ่งหมายของโครงงาน
1.                                    เพื่ออนุรักษ์ขนมหวานไทย
2.                                    เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
3.                                    เป็นการสร้างรายได้ระหว่างเรียน
4.                                    เพื่อฝึกการทำสังขยาฟักทอง
5.                                    เพื่อศึกษาประวัติและวิธีทำขนมไทย
สมมุติฐาน
หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากการทำโครงงาน เพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต และสามารถประยุกต์สังขยาฟักทองจากสังขยาฟักทองธรรมดาเป็นสังขยาฟักทองรสต่างๆ สีธรรมชาติหรือจากสมุนไพร
ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาจากเว็บไซต์และสอบถามบุคคลที่รู้เกี่ยวกับสังขยาฟักทอง



ผู้จัดทำ


โครงงานอาชีพ
เรื่อง สังขยาฟักทองใบเตย


คณะผู้จัดทำ

1. นางสาว จิราพร    ดวงบุตร  เลขที่ 30

2. นางสาว อาภัสรา  ปลายเนตร  เลขที่ 44


อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ CAI ช่วยสอน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5/2

ภาคเรียนที่2  ปีการศึกษา2556
โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร