วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประวัติสังขยา

ประวัติสังขยา

    สังขยา หรือที่เรียกในภาษามาเลย์ว่า ศรีกายา หรือกายา เป็นขนมนึ่งทำจากกะทิและน้ำตาล พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ  เช่น

อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์
กายาหรือศรีกายา (มาจากคำว่าร่ำรวยในภาษามาเลย์) เป็นขนมที่ทำจาก กะทิ ไข่เป็ดหรือไขไก่ ซึ่งขยำให้เข้ากันด้วยใบเตย ปรุงรสหวานด้วยน้ำตาล มีจุดกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพราะใช้เครื่องปรุงที่พบมาในท้องถิ่นคือน้ำตาลมะพร้าวและใบเตย กายายังใช้รับประทานร่วมกับขนมอื่น เช่น pulut tekan ซึ่งเป็นข้าวเหนียวนึ่งที่ย้อมให้เป็นสีม่วง pulut seri muka ข้าวเหนียวนึ่งที่ย้อมให้เป็นสีเขียวด้วยใบเตย

ฟิลิปปินส์
สังขยาในฟิลิปปินส์ทำจากกะทิ และน้ำตาลหรือกากน้ำตาล

ไทย
สังขยาในไทยเป็นขนมที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส นิยมรับประทานกับข้าวเหนียว หรือใส่ในฟักทอง เผือกหรือมะพร้าว แล้วนำไปนึ่ง เป็นคนละชนิดกับสังขยาที่กินกับขนมปัง

กัมพูชา
สังขยาในกัมพูชา ลักษณะคล้ายสังขยาในประเทศไทย นิยมปรุงกับฟักทองแบบสังขยาฟักทองในไทย


ประวัติและประโยชน์ของส่วนผสมต่างๆที่ใส่ลงในสังขยาฟักทอง


เตยหอม

กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจเตยหอม

    

ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus amaryllifolius  Roxb.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม

ส่วนที่ใช้  ใบ
สรรพคุณ :
·                     ใบสด
-
  ตำพอกโรคผิวหนัง
-
  รักษาโรคหืด
-
  น้ำใบเตย ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น 
-
  ใช้ผสมอาหาร แต่งกลิ่น ให้สีเขียวแต่งสีขนม
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
1.   ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ใช้ต้น 1 ต้น หรือราก ครึ่งกำมือ ต้มกับน้ำดื่ม
2.  ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ
ใช้ใบสดไม่จำกัดผสมในอาหาร ทำให้อาหารมีรสเย็นหอม  รับประทานแล้วทำให้หัวใจชุ่มชื่น หรือเอาใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกง
3.  ใช้เป็นยาแก้เบาหวาน

ใช้ราก 1 กำมือ ต้มน้ำดื่ม เข้าเย็น

 ฟักทอง

  


ประวัติฟักทอง

ชื่อวิทยาศาสตร์        Cucurbita moschata Decne.
ชื่อสามัญ                Pumpkin
วงศ์                      CUCURBITACEAE

ลักษณะ :
ฟักทองเป็นไม้เถาเลื้อยไปตามดิน มีมือสำหรับยึดเกาะ ลำต้นอวบน้ำ ใบเดี่ยวรูปห้าเหลี่ยม มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีเหลืองรูปกระดิ่ง ผลฟักทองมีด้วยกันหลายลักษณะ บางครั้งเป็นผลเกือบกลมก็มี แต่โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกลมแป้น ผิวขรุขระเล็กน้อย เมื่อยังดิบเนื้อค่อนข้างแข็ง นอกจากเนื้อของผลฟักทองจะใช้เป็นอาหารแล้ว เมล็ดฟักทองก็ใช้เป็นอาหารว่างได้ด้วย
ในประเทศตะวันตก นิยมนำฟักทองมาเจาะเป็นช่อง มีจมูก ตา แล้วใส่เทียน หรือดวงไฟข้างในเพื่อฉลองในวันฮาโลวีน เรียกว่า แจคโอแลนเทิน' (Jack-o'-lantern pumpkin)
ฟักทองมีกากใยสูง อุดมด้วยวิตามินเอและสารต่อต้านการผสมกับออกซิเจนกับเกลือแร่ และมี “กรดโปรไพโอนิค” กรดนี้ทำให้ทำให้เซลล์มะเร็งให้อ่อนแอลงในเนื้อฟักทองมีแคโรทีนและแป้ง ใช้แต่งสีขนมเช่น ขนมฟักทอง ลูกชุบ โดยนำเนื้อนึ่งสุกมายีกับแป้งหรือถั่วกวน


คุณค่าและสารอาหาร

ฟักทอง เป็นพืชผักที่จัดอยู่ในกลุ่มพืชตระกูลแตง (Cucurbitaceae) ซึ่งได้แก่ ฟักทอง แตงกวา แตงร้าน ฟักแฟง มะระ บวบ แตงโม แคนตาลูป ฯลฯ เป็นพืชผักที่มีราคาถูก มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงผิวพรรณและถนอมสายตา นำมาทำอาหารได้หลายชนิด เช่น ยอดอ่อนนำมาลวกจิ้มน้ำพริก หรือใส่แกงเลียง แกงส้มเปรอะ แกงส้ม เป็นต้น เนื้อใช้ทำอาหารได้ทั้งคาว-หวาน ทั้งผัด-แกง-ขนม และใช้เป็นอาหารเสริมในเด็กเล็ก รวมทั้งดัดแปลงมาใช้โรยหน้าหรือปนในขนมต่างๆ ทำให้มีสีสันสวยงาม และมีคุณค่าทางอาหารมากยิ่งขึ้น
ในเนื้อฟักทองสด 100 กรัม จะมีคุณค่าทางอาหาร ดังนี้

โปรตีน 1.63 ไขมัน 0.2 กากใย 0.88 คาร์โบไฮเดรต 10.1 วิตามินเอ 2,220 หน่วยสากล พลังงาน 48.7 กิโลแคลอรี

ประโยชน์

   ฟักทองเป็นผักที่มีประโยชน์มากอีกชนิดหนึ่ง นอกจากจะใช้เนื้อฟักทองเป็นอาหารแล้ว ยังสามารถใช้เป็นยาได้ด้วยเมล็ดฟักทองก็นำไปคั่วกินเป็นอาหารว่างได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถสกัดน้ำมันจากเมล็ดฟักทองใช้เป็นยาได้อีกด้วย
ฟักทองมีวิตามินอยู่หลายชนิดมีรายงานทางการแพทย์พบว่า ฟักทองมีฤทธิ์ป้องกัน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคไต ทั้งนี้เนื่องจากฟักทองสามารถกระตุ้นการหลั่งของอินซูลินในร่างกาย นอกจากนี้ฟักทองยังช่วยเสริมสมรรถภาพของตับไต และช่วยเพิ่มการสร้างเซลล์ของตับและไต
การใช้ฟักทองทั้งผลใช้เป็นยานั้นเป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว จนพูดกันว่าฟักทองทั้งผลใช้เป็นยาได้ทั้งหมด เพราะทั้งเนื้อ เมล็ด ราก และเครือฟักทอง ( หมายถึงลำต้น ซึ่งเป็นเถาเลื้อย ) ล้วนใช้เป็นยาได้ ฟักทองมีรสหวาน ฤทธิ์อุ่น มีสรรพคุณช่วยย่อยอาหาร ทำให้กระเพาะอุ่น บำรุงกำลังลดอาการอักเสบ แก้ปวด และที่สำคัญคือมีฤทธิ์ในการขับพยาธิอีกด้วย
มีข้อควรระวังอยู่ข้อหนึ่ง ก็คือ คนที่กระเพาะร้อน ( คือมีอาการกระหายน้ำ ปากเหม็น หิวง่าย ปัสสาวะเหลือง ปัสสาวะน้อย ท้องผูก ถ้าร้อนมากขึ้นไปอีกอาจพบแผลใน ช่องปาก ปากเปื่อย เหงือกบวมแดง ชอบทานน้ำเย็น ) ไม่ควรกินฟักทองให้มาก เพราะฟักทองจัดเป็นยาร้อนแม้คนปรกติเอง ถ้ากินครั้งเดียงมาก ๆ ก็อาจจะทำให้มี อาการท้องอีด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้องได้
สำหรับเมล็ดฟักทองมีไขมันอยู่จำนวนมาก สามารถบีบเอาน้ำมันออกมาได้ใช้เป็นน้ำมันพืช นอกจากนี้ยังมีโปรตีน และวิตามิน บี และ ซี อีกด้วย

ฟักทองเป็นผักที่มีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้หลายทาง มนุษย์รู้จักปลูกและนำฟักทองไปใช้เป็นเวลานานแล้ว ซึ่งถูกค้นพบในทวีปอเมริกา


สรรพคุณทางยา

สรรพคุณทางสมุนไพรของฟักทอง เนื้อใช้เป็นยาระบายอย่างอ่อน เยื่อภายในผลใช้พอกแก้ฟกช้ำ แก้ปวด ส่วนเมล็ดที่เคี้ยวกันมัน ๆ นั้นใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด ขับปัสสาวะและบำรุงร่างกาย รากนั้น ในตำราโบราณใช้ต้มดื่มน้ำเป็นยาแก้ไอ
         ฟักทองมีคุณค่าทางอาหารสูงมาก หากกินทั้งเปลือกก็จะได้คุณค่าเพิ่มขึ้นอีก มีเบต้า-แคโรทีน ที่ช่วยป้องกันมะเร็ง เนื้อฟักทองสามารถควบคุมระดับน้าลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต บำรุงตับ ไต รวม ๆ ก็คือ ช่วยควบคุมสมดุลในร่างกายนั้นเอง
         จะกินของหวาน หรือของคาว ก็มีประโยชน์ทั้งนั้น ว่าง ๆ ก็ไม่รู้จะหาของกินเล่นเป็นอะไร ก็ลองเอาฟักทองสักชิ้นมานึ่ง พอสุกก็เอามาจิ้มน้ำตาล หรือจะกินเปล่า ๆ ยิ่งตอนนี้มีคนเอามาอบกรอบกินเล่น ง่ายและดีต่อร่างกายมากกว่าขนมถุงขนมซองไม่รู้กี่เท่า
     เมล็ดฟักทองแร่ธาตุฟอสฟอรัส สังกะสีสูง เหล็กรวมทั้งมีโพแทสเซียม แมกนีเซียม และสังกะสี สามารถป้องกันการเกิดนิ่ว และใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวตืด นอกจากนี้ฟักทองยังมีส่วนช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ทำให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล เหมาะสำหรับผู้หญิงหลังคลอดบุตร ที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส และเสี่ยงกับการเกิดหน้าท้องลาย
     ฟักทองย่อยง่ายและไม่ค่อยทำให้เกิดอาการแพ้ จึงเหมาะเป็นอาหารเสริมสำหรับเด็ก จึงไม่ควรที่จะมองข้าม เห็นไหมว่าฟักทองเปี่ยมคุณค่าน่ารับประทานขนาดไหน

ไข่




คุณค่าโภชนาการของไข่


ไข่จัดอยู่ในอาหารประเภทโปรตีนประเภทสูง ไข่1ฟองให้โปรตีนประมาณ7กรัม โปรตีนในไข่เป็นโปรตีนที่สมบูรณ์ มีกรดอะมิโนครบทุกชนิดตามที่ร่างกายต้องการในปริมาณสูง ร่างกายสามารถนำโปรตีนจากไข่ไปใช้ได้ทั้งหมด
นอกจากไข่จะมีโปรตีนแล้ว ยังมีเกลือแร่ต่างๆที่สำคัญมากมาย เช่น เหล็ก วิตามินดี และบีสอง

ส่วนประกอบที่สำคัญของไข่

bullet02_orange_2.gif.เปลือกไข่ (egg shell) อาจมีสีน้ำตาลหรือสีขาวขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์แม่ไก่ สีไข่ไม่มีผลใดๆต่อคุณค่าทางโภชนาการแต่อย่างใด เช่น ไข่ไก่พันธุ์เล็กฮอร์นมีเปลือกสีขาว ส่วนไข่ไก่พันธุ์โรดไอร์แลนด์มีเปลือกสีน้ำตาลในเปลือกไข่จะมีคอลลาเจน(collagen) สานเป็นตัวตาข่าย และมีหินปูน(แคลเซียมคาบอเนต) เป็นส่วนใหญ่ ทำให้เปลือกแข็ง เปลือกไข่จะมีรูขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นหมด อาการศและความชื้นสามารถแรกผ่านรูเล็กๆที่อยู่ในไข่ได้ อากาศจำเป็นสำหรับตัวอ่อนหายใจ เมื่อไข่ออกมาใหม่ๆ จะมีเมือกเคลือบที่เปลือกไข่ด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศและน้ำผ่านเข้าไปได้ เปลือกไข่ในช่วงแรกๆจึงมีลักษณะเป็นนวล เมื่อเก็บไว้นานๆ เมือกเหล่านี้จะแห้งไป เปลือกไข่จึงมีอากาศถ่ายเทเข้าออกได้มากขึ้น ทำให้ไข่เสียเร็ว
bullet02_orange_3.gifเยื่อหุ้มไข่ มีอยู่ด้วยกัน2ชั้น ชั้นนอกที่ติดเปลือกมีชื่อเรียกว่า shell membrane ชั้นในที่ติดกับไข่ขาวเรียกว่า egg membrane เยื่อชั้นนอกและชั้นในจะชิดกันตลอด แต่แยกกันที่ด้านป้านของไข่ซึ่งมีโพรงอากาศ
bullet02_orange_4.gifโพรงอากาศ (air cell) เป็นช่องว่างที่อยู่บริเวณด้านป้านของไข่ อยู่ระหว่างเยื่อหุ้มชั้นนอกและเยื่อหุ้มชั้นใน เมื่อไข่ออกมาใหม่ๆ อุณหภูมิของไข่ยังสูง จึงไม่มีช่องว่าง ต่อเมื่อเมื่อไข่เย็นลง ของเหลวภายในไช่หดตัว ทำให้เกิดเป็นโพรงอากาศขึ้น และถ้าหากมีน้ำระเหยออกไปมาก ก็จะทำให้โพรงอากาศใหญ่ขึ้นด้วย
bullet02_orange_5.gifไข่ขาว (albumen) มีทั้งหมด3ชั้น ไข่ขาวชั้นนอกสุดจะค่อนข้างเหลว อยู่ติดกับเยื่อหุ้มไข่ ถัดมาเป็นไข่ขาวข้น มีปริมาณมากกว่าครึ่งของไข่ขาวทั้งหมด ส่วนชั้นในสุดเป็นไข่ขาวอย่างเหลว ในไข่ขาวประกอบด้วยน้ำและโปรตีนเป็นส่วนใหญ่ มีไขมันบ้างเล็กน้อย ลักษณะที่เป็นเมือกของไข่ขาวข้น เกิดจากคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่
bullet02_orange_6.gifเยื่อหุ้มไข่แดง (Vitelline membrane) มีประโยชน์คือ ช่วยหุ้มไข่แดงเอาไว้โดยรอบ
bullet02_orange_7.gifไข่แดง (Yolk) ไข่แดงจะอยู่กลางฟองโดยการยืดของเยื่อ ที่เป็นเกลียวแข็ง อยู่ด้านหัวและท้ายของไข่แดง และยื่นเข้าไปในไข่ขาว
ไข่แดงมีความเข้มข้นมากกว่าไข่ขาว เพราะมีน้ำน้อยกว่า มีไขมันและโปรตีนมากกว่า ในไข่แดงบางฟองอาจมีจุดเลือด มีสาเหตุมาจากเส้นเลือดฝอยในรังไข่ของแม่ไก่แตก ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทำให้จุดเลือดดังกล่าวกลายเป็นชิ้นเนื้อเล็กๆ ไม่ได้ให้โทษแต่อย่างใด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น